วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

แผนการสอน

รายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3)
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา โปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์

หมวดที่ 1 ข้อมูลโดยทั่วไป
1. รหัสและชื่อรายวิชา
EH2302 เด็กปฐมวัยกับทักษะคณิตศาสตร์ Early Childhood and Mathematic skills
2. จำนวนหน่วยกิต
3( 2-2-2 )
3. หลักสูตรและประเภทของรายวิชา
ครุศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
4. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน
อาจารย์กรรณิการ์ แซ่ใช้
5. ภาคการศึกษา / ชั้นปีที่เรียน
ภาคการศึกษาที่ 1 / ปีการศึกษา 2553 ชั้นปีที่ 3
6. รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite) (ถ้ามี)
ไม่มี
7. รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisites) (ถ้ามี)
ไม่มี
8. สถานที่เรียน
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
9. วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด
ไม่มีข้อมูล

หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์
1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ และสามารถอธิบายเกี่ยวกับความหมาย ความมุ่งหมาย หลักและทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์ ขอบข่ายเนื้อหาการสอน จิตวิทยาที่เกี่ยวกับการสอน หลักการสอนและการจัดกิจกรรม การผลิตอุปกรณ์ การบูรณาการทักษะคณิตศาสตร์ การพัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย การออกแบบการจัดประสบการณ์ การทดลองปฏิบัติการสอน และการวัดผลและการประเมินผลทักษะคณิตศาสตร์
2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา
ไม่มีข้อมูล

หมวดที่ 3 ลักษณะและการดำเนินการ

1. คำอธิบายรายวิชา
ความหมาย ความมุ่งหมาย หลักและทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์ ขอบข่ายเนื้อหาการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย จิตวิทยาที่เกี่ยวกับการสอนคณิตศาสตร์ หลักการสอนและการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ การผลิตอุปกรณ์เพื่อใช้ในการเสริมทักษะคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย การบูรณาการทักษะคณิตศาสตร์กับกิจกรรมและเนื้อหาอื่น ๆ เพื่อการพัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย การออกแบบการจัดประสบการณ์ การทดลองปฏิบัติการสอนทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย การวัดผลและการประเมินผลทักษะคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
2. จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา
บรรยาย
สอนเสริม
การฝึกปฏิบัติ/งานภาคสนาม/การฝึกงาน
การศึกษาด้วยตนเอง
บรรยาย 30 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษา

สอนเสริมตามความต้องการของนักศึกษาเฉพาะราย
มีการฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม 30 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษา
การศึกษาด้วยตนเอง 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
3. จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)

หมวดที่ 4 การพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา

1. คุณธรรม จริยธรรม
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยมีคุณธรรมจริยธรรมตามคุณสมบัติ ดังนี้
- ตระหนักในคุณค่าและมีคุณธรรม จริยธรรม มีความเสียสละ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลามีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
- มีความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน รวมถึงการเคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
- มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2 วิธีการสอน
- สอดแทรกในการบรรยายในรายวิชา
- ให้นักศึกษาสะท้อนความคิดเป็นรายบุคคล และรายกลุ่ม
- ให้นักศึกษาเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงโดกำหนดให้นักศึกษาทำงานเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม
1.3 วิธีการประเมินผล
- ประเมินจากพฤติกรรมการเข้าชั้นเรียน ซึ่งต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 80 % ของเวลาเรียนทั้งหมด และการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
- ประเมินจากพฤติกรรมการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
- ประเมินจากพฤติกรรมการทำงานทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
- มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
- ประเมินผลการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย
2. ความรู้
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
ความหมาย ความมุ่งหมาย หลักและทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์ ขอบข่ายเนื้อหาการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย จิตวิทยาที่เกี่ยวกับการสอนคณิตศาสตร์ หลักการสอนและการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ การผลิตอุปกรณ์เพื่อใช้ในการเสริมทักษะคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย การบูรณาการทักษะคณิตศาสตร์กับกิจกรรมและเนื้อหาอื่น ๆ เพื่อการพัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย การออกแบบการจัดประสบการณ์ การทดลองปฏิบัติการสอนทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย การวัดผลและการประเมินผลทักษะคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
2.2 วิธีการสอน
บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การวิเคราะห์ School based และมอบหมายให้ค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมด้วยตนเอง โดยนำมาสรุปและนำเสนอเป็นรายบุคคลผ่าน Weblog ของผู้เรียน
2.3 วิธีการประเมินผล
- ทดสอบย่อย สอบปลายภาค
- ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย
3. ทักษะทางปัญญา
3.1 ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการแก้ปัญหา ในการพัฒนาเด็กปฐมวัย พัฒนาตน พัฒนาวิชาชีพ และเห็นคุณค่าของการใช้วิถีทางปัญญาในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
3.2 วิธีการสอน
- การมอบหมายให้นักศึกษา และนำเสนอผลการศึกษา
- การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
3.3 วิธีการประเมินผล
ทดสอบย่อยและสอบปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่สามารถวัดได้ทั้งความรู้ ความจำ ความเข้าใจ การวิเคราะห์ และประเมินค่า
4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับเด็ก ผู้เรียนกับครู ผู้ปกครองและชุมชน พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามและความสามารถการทำงานเป็นทีม ปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความเข้าใจและมีความเป็นกัลยาณมิตร มีความเคารพสิทธิหน้าที่และความแตกต่างระหว่างบุคคล พัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2 วิธีการสอน
- จัดกิจกรรมกลุ่มทั้งกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่ หรือทำงานเป็นคู่
- มอบหมายงานรายกลุ่ม และรายบุคคล
- การนำเสนอรายงาน
- การปฏิบัติงานภาคสนาม
4.3 วิธีการประเมินผล
- ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
- พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
- รายงานที่นำเสนอ และรายงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
- ประเมินผลการปฏิบัติงานภาคสนามด้วยแบบฟอร์มที่กำหนดโดยครูประจำชั้นที่ผู้เรียนเข้าฝึกปฏิบัติ
5. ทักษะการวิเคราะห์ การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา
พัฒนาทักษะความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน รวมถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ คณิตศาสตร์และสถิติในการสื่อสาร และการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
5.2 วิธีการสอน
- มอบหมายงานและนำเสนอในชั้นเรียน
- มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จาก internet และทำรายงาน โดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
- ให้นักศึกษาส่งงานทาง Weblog
- ให้นำเสนอผลงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3 วิธีการประเมินผล
- การจัดทำรายงาน และนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
- การมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
6. ทักษะการจัดการเรียนรู้
6.1 ทักษะการจัดการเรียนรู้ที่ต้องพัฒนา
พัฒนาทักษะความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนาผู้เรียน ทักษะการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนผ่านกระบวนการวิจัย และพัฒนาทักษะความสามารถในการบริหารจัดการชั้นเรียน
6.2 วิธีสอน
มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้า เช่น ศึกษางานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนรู้ การสังเกตการณ์ในชั้นเรียน การปฏิบัติการภาคสนาม
6.3 วิธีการประเมิน
- ประเมินจากผลงานที่นำเสนอ
- ประเมินผลการปฏิบัติงานภาคสนามด้วยแบบฟอร์มที่กำหนดโดยครูประจำชั้นที่ผู้เรียนเข้าฝึกปฏิบัติ
หมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล
1. แผนการสอน
สัปดาห์ที่
หัวข้อ/รายละเอียด
จำนวนชั่วโมง
กิจกรรมการเรียน การสอน สื่อที่ใช้ (ถ้ามี)
ผู้สอน
1

บทที่ 1 ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
1.ความหมายของทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์
2.จุดมุ่งหมายของการพัฒนาทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์
3.ความสำคัญของการพัฒนาทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์

บรรยาย ประกอบ Presentation และ เอกสารประกอบการสอน
อาจารย์กรรณิการ์ แซ่ใช้

บทที่ 2 จิตวิทยาและทฤษฎีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยที่เกี่ยวกับการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
จิตวิทยาพัฒนาการ
พัฒนาการทางสติปัญญาและการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสมองของเด็กปฐมวัย
ทฤษฎีการเรียนรู้


บรรยาย ประกอบ Presentation และ เอกสารประกอบการสอน ศึกษาจากVCDเรื่องการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสมอง
อาจารย์กรรณิการ์ แซ่ใช้

บทที่ 3 ขอบข่ายเนื้อหาวิชา และความคิดรวบยอดของคณิตศาสตร์ในระดับอนุบาล
1.ตัวเลข
2.จำนวน
3.การนับ
4.การเพิ่ม
5.การลด
6.การจับคู่
7.ขนาด
8.การเรียงลำดับ
9.การจัดประเภท
10.การเปรียบเทียบ
11.การจัดหมวดหมู่ / เซต
12.เรขาคณิต
13.รูปทรงและพื้นที่
14.ชั่ง ตวง วัด
15.การแบ่ง / เศษส่วน
16.เวลา
17.กราฟและสถิติ
18.อนุกรม
19.ความคงที่ของปริมาณและวัตถุ
20.การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
*** ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 ***

บรรยาย ประกอบ Presentation และเอกสารประกอบการสอน
อาจารย์กรรณิการ์ แซ่ใช้

บทที่ 4 หลักการสอน การจัดกิจกรรมประสบการณ์ และการเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1.หลักการสอนและพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับสมองของเด็กปฐมวัย
2. รูปแบบการสอนเพื่อการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
3.เทคนิควิธีการจัดกิจกรรมประสบการณ์พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
4.การเขียนแผนการสอน


บรรยาย ประกอบ Presentation และเอกสารประกอบการสอน มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมและให้นำเสนอผ่าน Weblog ของตนเอง และมอบหมายงานให้ปฏิบัติการภาคสนาม ณ สถานศึกษาที่ผู้สอนกำหนด
อาจารย์กรรณิการ์ แซ่ใช้

บทที่ 5 สื่อวัสดุอุปกรณ์ เพื่อส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1.แนวคิดและหลักการใช้สื่อเพื่อส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2.การผลิตสื่อวัสดุอุปกรณ์ เพื่อส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

บรรยาย ประกอบ Presentation และเอกสารประกอบการสอน มอบหมายงานให้ผลิตสื่ออย่างน้อยคนละ 2 ชิ้น
อาจารย์กรรณิการ์ แซ่ใช้

บทที่ 7 บทบาทหน้าที่ของครูในการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1.ด้านการเตรียมการ
2.ด้านการส่งเสริมทักษะ
3.ด้านการจัดกิจกรรม
4.ด้านการวัดและประเมิน
5.บทบาทหน้าที่ของผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
*** ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 ***

บรรยาย ประกอบ Presentation และเอกสารประกอบการสอน และมอบหมายงานให้ทำจุลสารเพื่อส่งเสริมความรู้และความเข้าใจให้ผู้ปกครอง
อาจารย์กรรณิการ์ แซ่ใช้

บทที่ 8 การวัดและการประเมินผลความพร้อมทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1.การวัดผลความพร้อมทักษะคณิตศาสตร์
2. การประเมินผลความพร้อมทักษะคณิตศาสตร์
3. การสร้างแบบทดสอบความพร้อมทักษะคณิตศาสตร์

บรรยาย ประกอบ Presentation และเอกสารประกอบการสอนและมอบหมายงานให้ผลิตแบบเตรียมความพร้อมหรือแบบฝึกทักษะหรือแบบทดสอบ
อาจารย์กรรณิการ์ แซ่ใช้

สอบปลายภาค

2 แผนการประเมินผลการเรียนรู้

ทดสอบย่อยครั้งที่ 1
ทดสอบย่อยครั้งที่ 2
สอบปลายภาค


การศึกษาค้นคว้าและการนำเสนอผลงาน
การทำงานกลุ่มและประสิทธิภาพและประสิทธิผลของผลงาน
การส่งงานตามที่มอบหมาย และตรงตามเวลาที่กำหนด
ตลอดภาคการศึกษา
30%

การเข้าชั้นเรียน
การมีส่วนร่วม ในชั้นเรียน
ตลอดภาคการศึกษา
10%

หมวดที่ 6 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน


หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา

1. กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ โดยให้นักศึกษาทำการประเมินผู้สอนและประเมินรายวิชา และให้นักศึกษาเสนอแนะผ่านอีเมล์ ที่อาจารย์ผู้สอนใช้เป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา และผู้สอนประเมินนักศึกษาจากพฤติกรรมการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
2. กลยุทธ์การประเมินการสอน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
- แบบประเมินการสอน
- ข้อเสนอแนะของผู้เรียน
3. การปรับปรุงการสอน
หลังจากได้รับผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จะดำเนินการปรับปรุงการสอน และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ในครั้งต่อไป
4. การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
ในระหว่างการจัดกระบวนการเรียนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา โดยการสอบถามนักศึกษา การตรวจผลงานของนักศึกษา การทดสอบย่อย และการทดสอบเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ การทวนสอบจะกระทำการดังนี้
1. การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น ที่ไม่ใช่อาจารย์ผู้สอนในรายวิชา
2. ให้อาจารย์อื่นที่เป็นคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยการสุ่มตรวจสอบข้อสอบ และรายงาน
5. การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
นำผลที่ได้จากการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา มาวางแผนการปรับปรุงการสอน และรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น: